สวนสุนนท์กุล [สวนไผ่,สวนผสม,เกษตรธรรมชาติ] http://sunbamboo.siam2web.com/

   Main webboard   »   สมุนไพรใกล้ตัว
 ย้อนกลับ  |    
Started by
Topic:   บอระเพ็ด  (Read: 3943 times - Reply: 0 comments)   
A-neg (Admin)

Posts: 56 topics
Joined: 8/9/2553

บอระเพ็ด
« Thread Started on 14/11/2553 19:50:00 IP : 124.122.26.15 »
 
 

 

บอระเพ็ด

พิมพ์ ส่งเมล
borapet.jpg 

 arrow35b15d.gif  ข้อมูลทั่วไป

ชื่อสามัญไทย : บอระเพ็ด
ชื่ออังกฤษ : หัวด้วน (สระบุรี), เจ็ตหมุนปลูก (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thoms. (Tinospora  umphii Boerl
r., Tinospora tuberculata Beaumee)
ชื่อพ้อง : -
วงศ์ : Menispermaceae

arrow35b15d.gif  ชีววิทยา - นิเวศวิทยา
  ลักษณะพืช :    บอระเพ็ด เป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยเนื้ออ่อน แต่ถ้าอายุมากเนื้อของลำต้นอาจแข็งได้ เถาอ่อนผิวเรียบสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลอมเขียว ผิวขรุขระ เป็นปุ่มๆ เถากลมโตขนาดนิ้วมือ ประมาณ 1-1.5 ซม. ยางมีรสขมจัด ขึ้นเกาะต้นไม้อื่นมักจะมีรากอากาศคล้ายเชือกเส้นเล็กๆ ห้อยลงมาเป็นสาย ใบเดี่ยวเป็นแบบสลับใบเป็นรูปไข่ป้อม โคนใบหยักเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โดยปกติปลายใบจะแหลม (แบบ Acuminate) มีเส้น Nerve 5-7 เส้นที่เกิดจากฐานใบขอบทั้งหมด ขอบใบเรียบขนาดกว้าง 3.5-10 ซม. ยาว 6-13 ซม. แยกต้นต้วผู้เมียออกดอกเป็นช่อตามกิ่งแก่ตรงบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว, แดงอมชมพู, เขียวอ่อน, เหลืองอ่อน ช่อดอกแบบ Raceme หรือ Fasicle เดี่ยว ยาว 5-20 ประกอบด้วยกลีบดอก กลีบเลี้ยงอย่างละ 6 Stamen 6 ผล มีลักษณะเป็น Drug รูปใบสีเหลืองถึงแดง ขนาด 2-3 ซม.
.....บอระเพ็ดมีลักษณะคล้ายชิงช้าชาลีมาก ต่างกันที่เถามีขนาด ใหญ่กว่า มีปุ่มมากกว่า มีรสขมกว่า และไม่มีปุ่มใกล้ฐานใบ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ :     บอระเพ็ดขึ้นได้ในดินทั่วไป โดยเฉพาะดินร่วนซุ่ย และมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
แหล่งที่พบ :     มักพบว่าขึ้นกระจายในป่าเบญจพรรณที่ชื้น และพบได้ทุกภาคของ
ประเทศไทย
      ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บเถาแก่
      การขยายพันธุ์ : ปลูก โดยใช้เมล็ดหรือตัดเถาแก่ให้ยาวประมาณ 1 คืบ ชำลงในดินให้เอียงเล็กน้อยลึกประมาณ 10 ซม. รดน้ำให้ชุ่มจนกว่าจะแตกใบใหม่ จึงย้ายไปปลูก ต้องทำค้างให้เลื้อย ควรปลูกในฤดูฝน (ดรุณ เพ็ชรลาย และคณะ, 2541)

 borapet1.jpg
 arrow35b15d.gif  ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้ :   ลำต้น (เถา), ใบ, ดอก และผล
สรรพคุณ :
         ส่วนของลำต้น (stem) (เถาหรือลำต้นสด) ในตำราไทยใช้ส่วนของลำต้นซึ่งมีรสขมจัด แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้เบาหวาน แก้กระหายน้ำ ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน ใบพอกฝีแก้ฟกบวม แก้ปวดแสบปวดร้อน
         เถา มีรสขม นำมาปรุงเป็นยารับประทาน แก้ไข ขับเหงื่อ ทำให้เลือดลมเย็น ลดความอ้วนในร่างกาย แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนในได้ดีมาก ช่วยให้เจริญอาหาร ผสมกับน้ำมันมะพร้าวรักษา รูมาติซึม บำรุงสุขภาพและช่วยให้อายุยืน
         ใบ นำมาโขลกให้ละเอียด ใช้พอกปิดฝี และใช้แก้ฟกบวม แก้ปวดแสบปวดร้อน เป็นยารักษาพยาธิในฟันและในท้อง ทำให้อายุยืน มีเสียงหวาน ลดอาการปวดและอาการบวมจากฝี รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันจากผื่น ขับพยาธิ ช่วยให้ลดไข้ รักษาไข้มาลาเรีย
         รากและเถา นำมาตำผสมกับมะขามเปียกและเกลือ หรือใส่ในยาดองเหล้า โดยจะกินครั้งละ 1 ช้อนชา ซึ่งจะช่วยลดไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร รักษาไข้มาลาเรียขึ้นสมองปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม ได้ผลิตทิงเจอร์บอระเพ็ด เพื่อใช้แทนทิงเจอร์ เจนเซียล
ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาธาตุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และจากการทดลองในสัตว์พบว่าน้ำที่กสัดจากเถาใช้ลดไข้ได้ (ภูมิพิชญ์
สุชาวรรณ, 2535)
          ดอก รักษาโรคในปากและช่องหู ขับพยาธิ
     
     ผลและลูก ใช้เป็นยารักษาโรคไข้พิษอย่างแรงและเสมหะเป็นพิษ รักษาโรคอุจจาระเป็นเลือด รวมทั้งโรคติดเชื้อในกระแสเลือด
       ต้นและเถา รักษาโรคพิษฝีดาษ โรคไข้เหนือ โรคไข้พิษทุกชนิด เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ รักษาอาการร้อนใน ทำให้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อยในทางเดินอาหาร ระงับความร้อน รักษาโลหิตพิการ และระงับอาการสะอึก (เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2522)
สารประกอบทางเคมี :

ส่วนของพืช
กลุ่มสารที่พบ
สารที่พบ
เอกสารอ้างอิง
ลำต้น
Alkaloids









Diterpenoid glycoside
Furanoditerpene
Glycoside

Phenolic glycoside
Diterpenoid

Monolignan
Phenolic compound
Palmatine
Berberine
Jatrorrhizine
Tembetarine
Choline
N-trans-feruloytryramine
N-cis-feruloyltyramine
N-formylannonaine
N-formylnornuciferine
N-acetylnornuciferine
Borapetoside A
Borapetoside B
Tinocrisposide
Borapetoside C-G
Borapetoside H
Tinotuberide
Borapetol A
Borapetol B
Siringin
Secoisolariciresinol
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Fukuda et al.,1983)
(Fukuda et al.,1983)
(Pachly et al.,1992)
(Pachly et al.,1992)
(Pachly et al.,1992)
(Fukuda et al.,1985)
(Murakoshi et al.,1993)
(Fukuda et al.,1983)
(Fukuda et al.,1984)
(Fukuda et al.,1985)
(Fukuda et al.,1983)
(Fukuda et al.,1985)
(Murakoshi et al.,1993)
(Murakoshi et al.,1993)
(Cavin et al.,1997)
ใบ
Alkaloid
Furanoid diterpenes
Palmatine
Tinotufolin A-B
Tinotufolin C-F
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Fukuda et al.,1985)
(Fukuda et al.,1985)

กลุ่มอื่นๆ Galactans
Mathylpentosan
Pentosans (Sinha, 1960)
(Sinha, 1960)
(Sinha, 1960)
ราก
Alkaloid Berberine (Bisset and Nwaiwu,1983)
กิ่ง
Alkaloid Palmatine (Bisset and Nwaiwu,1983)

รส (รสทางยา) : รสขมจัด เย็น มีสรรพคุณระงับความร้อน
ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน :
     1 ใช้เถาบอระเพ็ดหั่นตากแห้ง แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกกลอน กินก่อนนอน วันละ 2-4 เม็ด ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
     2 ใช้ส่วนเถาสดดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาของยาที่เตรียมแล้ว
     3 กินบอระเพ็ดสดวันละ 2 องคุลีทุกวัน เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร และป้องกัน ไข้มาลาเรีย
     4 นำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้ง บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน กินวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร ถ้าบรรจุแคปซูล กินวันละ 2-3 เวลา เป็นยาขมแก้ไข้
     5 ใช้เถาสดยาว 2-3 คืบ (30-40 กรัม) ใส่น้ำท่วมยา นำไปต้มแล้วดื่ม หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ต้มจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 2-3 ครั้งเมื่อมีไข้ (ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532)
     6 ใช้เถาหรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนเวลา ช่วยลดไข้
     7 ใช้เถาที่โตเต็มที่มาตากแห้ง แล้วบดให้เป็นผง ใช้ผงครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่ม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือใส่ในแคปซูลเพื่อให้สะดวกในการใช้ โดยใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน (ปราโมทย์ ศรีภิรมย์, 2540)
     8 ใช้ใบตำ พอก ฝี ฟกช้ำ บวม
     9 ใช้รากและเถา ตำผสมมะขามเปียกและเกลือ หรือดองเหล้า รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา แก้ไขลดความร้อน (ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532)
ตำรับ :

1 ชื่อตำรับ : ยาถ่ายเส้น
     1.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
เบญจ ขี้เหล็ก สมอทั้ง 3 มะขามป้อม ใบมะกา รากตองแตก แห้วหมู บอระเพ็ด ขมิ้นอ้อย โกฐน้ำเต้า หนักสิ่งละ 1 ส่วน เถาวัลย์เปรียงสด ใส่ให้มาก เทียนทั้ง 5 หนักสิ่งละ 2 สลึง ยาดำ หนัก 2 บาท ราชพฤกษ์ 5 ฝัก
     1.2 วิธีการปรุงยา ต้มแทรกดีเกลือ รับประทานตามธาตุหนัก-เบา
     1.3 ขนาดและวิธีใช้ ครั้งละ ครึ่งถึง 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
     1.4 สรรพคุณ : ชำระน้ำเหลือง แก้เส้น
     1.5 ข้อควรระวัง : -

2 ชื่อตำรับ : ยาบำรุงธาตุ
     2.1 มีวัตถุส่วนประกอบดังนี้
เบญจกูล ขมิ้นอ้อย บอระเพ็ด รากช้าพลู ลูกมะตูมอ่อน รากขัดมอน ลูกผักชี แห้วหมู สิ่งละ 1 ส่วน
     2.2 วิธีการปรุงยา ต้มเอาน้ำดื่ม
     2.3 ขนาดและวิธีใช้ : ดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
     2.4 สรรพคุณ แก้พุงพิการหรือแตก บำรุงธาตุ แก้ขัดอก ลงท้อง ท้องขึ้นท้องพอง แน่นในอกในท้องกินอาหารมิได้
     2.5 ข้อควรระวัง : -

3 ชื่อตำรับ : ยาแก้โลหิตทำพิษระหว่างตั้งครรภ์หรือแท้ง
     3.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
แก้ นขี้เหล็ก แก่นสะเดา แก่นสน จันทน์แดง จันทน์ขาว รากย่านาง ลูกมะขามป้อม ลูกกระดอม บอระเพ็ด ลูกมะตูมอ่อน หัวแห้วหมู ฝักราชพฤกษ์ ยาทั้งนี้เสมอภาค ก้านสะเดา 33 ก้าน
     3.2 วิธีการปรุงยา เติมน้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน เอาน้ำ
     3.3 ขนาดและวิธีใช้ : ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ
     3.4 สรรพคุณ แก้ครรภ์รักษา แก้เป็นไข้ต่างๆ ให้จับ ให้ลง ให้รากเป็นโลหิต โลหิตทำพิษต่างๆ หรือแท้งลูก โลหิตทำให้ร้อนให้หนาว ให้ระส่ำระสาย
     3.5 ข้อควรระวัง -

4 ชื่อตำรับ : ยาแก้ตับหย่อน
     4.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
ตรีผลา มะขามป้อม รากไอ้เหนียว รากเล็บมือนาง เปลือกไข่เน่า ยาดำ หัวแห้วหมู ลูกมะตูมอ่อน ฝักราชพฤกษ์ เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค สารส้ม หนักสิ่งละ 1 บาท เทียนดำ เทียนขาว น้ำประสานทอง หนักสิ่งละ 2 สลึง ลูกขี้กาแดงผ่า 2 เอา 1 บอระเพ็ด 3 องคุลี ขมิ้นอ้อย 3 ชื้น ใบกะเพรา หนัก 3 ตำลึง 3 บาท 3 สลึง
     4.2 วิธีการปรุงยา เอาสุรา 1 ส่วน น้ำท่า 2 ส่วน เติมลงต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน
     4.3 ขนาดและวิธีใช้ เอาน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
     4.4 สรรพคุณ แก้ซานแดงขึ้นหัวตับ ให้ลงเป็นโลหิต 4-5 วัน แล้วให้ไอเป็นกำลังให้ตาเหลือง ให้จับเป็นเวลา แล้วตับหย่อนลงชายโครงขวา ได้ใช้มาแล้วหายดีนัก
     4.5 ข้อควรระวัง -

5 ชื่อตำรับ : ยาบำรุงไฟธาตุ
     5.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
เบญจกูล ผลผักชี ว่านน้ำ แห้วหมู พิลังกาสา บอระเพ็ด ผิวมะกรูด ยาทั้งนี้หนักสิ่งละ 1 บาท
     5.2 วิธีการปรุงยา บดเป็นผงละลายน้ำส้มซ่า
     5.3 ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-เย็น
     5.4 สรรพคุณ บำรุงไฟธาตุให้บริบูรณ์ แล้วจึงแต่งยาบำรุงโลหิตต่อไป (สตรีใดอายุ 14-15 ปี แล้วระดูยังไม่มีมา หรือมีมาแล้วกลับแห้งไปก็ดี ท่านให้แต่งยาบำรุงไฟธาตุเสียก่อน ให้ธาตุทั้ง 4 บริบูรณ์พร้อมแล้ว จึงแต่งยาบำรุงโลหิตนั้นให้ชุ่มออกมา แล้วจึงแต่งยาขับโลหิตต่อไป)
     5.5 ข้อควรระวัง -

6 ชื่อตำรับ : ยาเตโชสมุฏฐาน
    6.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
โกฐ ทั้ง 9 เทียนทั้ง 7 เบญจกูล ผลเอ็น กานพลู เปราะหอม ผลผักชี สิ่งละ 1 ส่วน แฝกหอม พิมเสน จันทน์ทั้ง 2 บอระเพ็ด สิ่งละ 2 ส่วน ใบกระวาน 4 ส่วน น้ำตาลกรวด 7 ส่วน ตรีผลาตามพิกัด 35 ส่วน
     6.2 วิธีการปรุงยา บดเป็นผง ระคนเกลือสินเธาว์ เอาน้ำดอกไม้เป็นกระสาย ปั้นเม็ด ขนาดลูกมะแว้ง
     6.3 ขนาดและวิธีใช้ รับประทานก่อนอาหาร ครั้งละ 3-5 เม็ด
     6.4 สรรพคุณ แก้สมุฏฐานเตโชอันวิปริต กระทำให้ร้อนกระวนกระวาย นอนมิหลับ บริโภคอาหารมิได้ และให้อาเจียน
    6.5 ข้อควรระวัง -

7 ชื่อตำรับ : ยาวาโยสมุฏฐาน
     7.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
ผล จันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู สิ่งละ 1 ส่วน เทียนทั้ง 7 บอระเพ็ด ผลกระดอม ผลมะตูมอ่อน พริกไทยล่อน เบญจกูล สิ่งละ 2 ส่วน เทพธาโร ข่าต้ม สิ่งละ 4 ส่วน การบูน 5 ส่วน ตรีผลาตามพิกัด
     7.2 วิธีการปรุงยา บดเป็นผง ระคนด้วยเกลือสินเธาว์ ละลายน้ำขิง น้ำร้อน น้ำส้มซ่า
     7.3 ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
     7.4 สรรพคุณ แก้สมุฏฐานวาโย อันพิกลต่างๆ คือ ให้ท้องขึ้น ท้องพอง ให้จุกเสียด แน่นอก ให้เมื่อย ให้ขบไปทั้งตัว ให้อาเจียน บริโภคอาหารมิได้ นอนไม่หลับ
     7.5 ข้อควรระวัง -

8 ชื่อตำรับ : ยาอาโปสมุฏฐาน
     8.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
เปราะ หอม ผลเอ็น กานพลู แก่นแสมสาร รากส้มกุ้ง ชะเอมเทศ อบเชย สมุลแว้ง สิ่งละ 1 ส่วน โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนขาว การบูน แฝกหอม ใบกระวาน บอระเพ็ด สิ่งละ 3 ส่วน พริกไทย เบญจกูล สิ่งละ 5 ส่วน ตรีผลาตามพิกัด 23 ส่วน
     8.2 วิธีการปรุงยา บดเป็นผง ระคนด้วยเกลือสินเธาว์ ละลายน้ำขิง น้ำดีปลีต้ม
     8.3 ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
     8.4 สรรพคุณ แก้สมุฎฐานอาโป ซึ่งวิบัติ กระทำให้ตัวชุ่มไปด้วยเสมหะอันเป็นมาก แลให้เสมหะปะทะเนืองๆ ให้อุจจาระไปวันละ 3,4,5,6,7 เวลา หยดย้อยมิได้เป็นปกติ บริโภคอาหารไม่มีรส ให้ผอมซีด ให้บังเกิดละออง 3 ประการ ให้คลื่นเหียน ให้อาเจียน ให้ปลายมือ ปลายเท้าเย็นชืด
     8.5 ข้อควรระวัง -

9 ชื่อตำรับ : ยาปถวีสมุฏฐาน
     9.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
แก่น กันเกรา เปลือกกันเกรา เทพธาโร ผลมะตูมอ่อน ขมิ้นอ้อย สิ่งละ 1 ส่วน สะเดาทั้งใบทั้งดอก การบูน บอระเพ็ด สิ่งละ 3 ส่วน กระเทียม ไพล เบญจกูล สิ่งละ 5 ส่วน ตรีผลาตามพิกัด 20 ส่วน
     9.2 วิธีการปรุงยา บดเป็นผง ระคนด้วยเกลือสินเธาว์ ละลายน้ำร้อน น้ำส้มซ่า น้ำกระเทียม
     9.3 ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
     9.4 สรรพคุณ แก้สมุฎฐานปถวี ซึ่งเป็นชาติจลนะ อันบังเกิดแต่สมุฎฐานทั้ง 3 กระทำให้บริโภคอาหารไม่ได้ ให้ผอมเหลือง ให้บวมเท้า เป็นโสภะโรค วิปริตธาตุ ให้อาจจุาระเป็นลามกสันนิบาต วิปริตต่างๆ ให้หิวโหยหาแรงมิได้ แก้ให้สุคติจำเริญขึ้น แก้ปวดท้อง จุกเสียด
     9.5 ข้อควรระวัง -

10 ชื่อตำรับยา : ยาแก้มุตฆาต
     10.1 มีวัตถุส่วนประกอบ วิธีทำ และขนาดรับประทาน หลายขนาน ดังนี้
ขนาน ที่ 1 เบญจเสนียด โกฐทั้ง 5 กานพลู กานบูน รากแตงหนู ใบสะเดา ไพล น้ำประสานทอง ว่านน้ำ ตรีกฎุก รากละหุ่ง บอระเพ็ด เกลือสินเธาว์ หัวแห้วหมู ขมิ้นอ้อย ชะลูด พิมเสน เสมอภาค
ขนาที่ 2 รากพันงูแดง รากมะตูม ขิงแห้ง ใบขี้กาแดง เกลือสินเธาว์ สมอไทย กานพลู รากมะรุม เสมอภาค บดเป็นผง ละลายน้ำมะนาวกิน ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
ขนานที่ 3 โกฐสอ อบเชย งาเมล็ด เจตมุลเพลิง บอระเพ็ด ชะมด มุกมัน พิมเสน มหาหิงค์ โกฐก้านพร้าว บุกรอ อุตพิด โลดทนง รากชะคราม ไพล ใบคนทีสอ เกลือสมุทร โคกกระสุน พริกเทศ กระเทียม น้ำประสานทองเทียนทั้ง 5 รากจิงจ้อ ผลจิงจ้อ ยาทั้งนี้เสมอภาคบดเป็นผงละลายน้ำร้อนกิน ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
     10.2 สรรพคุณ แก้โรคทั้ง 12 ประการในปัสสาวะ คือ ให้น้ำปัสสาวะเป็นโลหิต เป็นสีแดง เป็นมุตฆาตแลช้ำรั่ว โรคแห่งสตรี และเป็นเสมหะ อุปทมแลริดสีดวง ดังนี้ มุตฆาต 4 ประการ เมื่อจะปัสสาวะออกมานั้น ให้ปวดให้ขัดเจ็บเป็นกำลัง ปัสสาวะ เป็นโลหิตช้ำ เป็นหนอง ขุ่นข้นดำดังน้ำคราม อันเกิดด้วยกระทบชอกช้ำ กระทำให้ขัดราวข้างดุจเป็นปัตฆาต แลให้เสียดแทงในอก จะไหวไปมามิสะดวก บริโภคอาหารมิได้ อาเจียนแต่ลมเปล่า รู้มิถึงคิดว่าเป็นเม็ดยอดภายใน

11 ชื่อตำรับ : ยาบำรุงไฟธาตุ
     11.1 มีวัตถุส่วนประกอบ ดังนี้
เบญจกูล หนักสิ่งละ 5 สลึง เปลือกต้นมะตูม 1 บาท รากขัดมอน 1 บาท ผลผักชี 1 บาท หัวแห้วหมู 2 บาท จันทน์หอม 1 บาท มูกมัน มูกหลวง กกลังกา ผลกระดอม บอระเพ็ด ผลมะแว้งทั้งสอง สิ่งละ 1 บาท
     11.2 วิธีการปรุงยา เติมน้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน
     11.3 ขนาดและวิธีใช้ เอาน้ำดื่มครั้งละครึ่ง ถึง 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
     11.4 สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงธาตุทั้ง 4
     11.5 ข้อควรระวัง -

 arrow35b15d.gif  รายงานการวิจัย
พฤกษเคมี
ส่วนของพืช
กลุ่มสารที่พบ
สารที่พบ
เอกสารอ้างอิง
ลำต้น
Alkaloids









Diterpenoid glycoside
Furanoditerpene
Glycoside

Phenolic glycoside
Diterpenoid

Monolignan
Phenolic compound
Palmatine
Berberine
Jatrorrhizine
Tembetarine
Choline
N-trans-feruloytryramine
N-cis-feruloyltyramine
N-formylannonaine
N-formylnornuciferine
N-acetylnornuciferine
Borapetoside A
Borapetoside B
Tinocrisposide
Borapetoside C-G
Borapetoside H
Tinotuberide
Borapetol A
Borapetol B
Siringin
Secoisolariciresinol
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Fukuda et al.,1983)
(Fukuda et al.,1983)
(Pachly et al.,1992)
(Pachly et al.,1992)
(Pachly et al.,1992)
(Fukuda et al.,1985)
(Murakoshi et al.,1993)
(Fukuda et al.,1983)
(Fukuda et al.,1984)
(Fukuda et al.,1985)
(Fukuda et al.,1983)
(Fukuda et al.,1985)
(Murakoshi et al.,1993)
(Murakoshi et al.,1993)
(Cavin et al.,1997)
ใบ
Alkaloid
Furanoid diterpenes
Palmatine
Tinotufolin A-B
Tinotufolin C-F
(Bisset and Nwaiwu,1983)
(Fukuda et al.,1985)
(Fukuda et al.,1985)

กลุ่มอื่นๆ Galactans
Mathylpentosan
Pentosans (Sinha, 1960)
(Sinha, 1960)
(Sinha, 1960)
ราก
Alkaloid Berberine (Bisset and Nwaiwu,1983)
กิ่ง
Alkaloid Palmatine (Bisset and Nwaiwu,1983)

เภสัชวิทยา
     1. ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
พบ ว่าสารสกัดจากลำต้นบอระเพ็ดด้วย 95% เอธานอล มีฤทธิ์ทำให้ oral glucose tolerance (OGT) ของหนูขาวปกติ ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยระดับน้ำตาลจะลดลง 12.15% และ 12.84% หลังจากป้อนสารสกัดให้กับหนูขาว 4 และ 6 ชั่วโมงตามลำดับ อย่างไรก็ตามสารสกัดดังกล่าวไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวปกติใน ทุกๆ ความเข้มข้นที่ใช้ทดลอง (กัลยา และคณะ, 2541)
สารสกัดจากชั้นน้ำ ของลำต้นบอระเพ็ด สามารถลดระดับกลูโคสในเลือดและเพิ่มระดับ insulin ในเลือด ในหนูที่เป็นเบาหวานระดับปานกลางได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีผลในหนูปกติ (Noor and Ashcroft, 1989)
กลไกในการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากบอระเพ็ดพบว่าออกฤทธิ์โดยการ กระตุ้นการหลั่ง insulin ที่เบตาเซลล์ ทำให้เบตาเซลล์มีความไวต่อความเข้มข้นของ Ca2+ ภายนอกเซลล์ ส่งเสริมให้เกิดการสะสมของ Ca2+ ภายในเซลล์ และทำให้เกิดการหลั่งของ insulin โดยไม่รบกวนการดูดซึมของกลูโคสจากทางเดินอาหารและไม่รบกวนการนำกลูโคสเข้า peripheral cell (Noor and Ashcroft, 1998)
      2. ฤทธิ์ลดไข้
มี รายงานการศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของสารสกัดจากชั้นน้ำของลำต้นบอระเพ็ด ในหนูขาวเพศผู้ที่ถูกชักนำให้เกิดไข้ด้วยวัคซีนไทฟอยด์ ขนาด 0.6 ml./ตัว พบว่าสารสกัดบอระเพ็ดขนาด 300,200,100 mg./kg. น้ำหนักตัว สามารถลดไข้ได้หลังป้อนสารสกัดบอระเพ็ดในชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ แต่มีประสิทธิภาพอ่อนกว่าแอสไพริน (บุญเทียม และคณะ, 1994)
     3. ฤทธิ์ช่วยเจริญอาหาร
เนื่องจากความขมของบอระเพ็ด จึงสามารถใช้เป็นยาที่ทำให้เจริญอาหารได้ (รุ่งระวี และคณะ, 2529)
     4. ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
มี รายงานการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของบอระเพ็ดพบว่าสารสกัด 3 ชนิด ได้แก่ N-trans-feruloyltyramine, N-cis-feruloyltyramine, secoisolariciresinol มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่า BHT ซึ่งใช้เป็นสารมาตรฐาน (Cavin et al., 1997)
     5. ฤทธิ์ในการต้านมาลาเรีย
มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ในการต้านมาลาเรียของสารสกัดในชั้นเมธานอลและคลอโรฟอร์มพบว่าไม่มีฤทธิ์ในการต้านมาลาเรีย (Rahman et al., 1999)
     6. ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย
มี การศึกษาฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากใบและลำต้นในชั้นเอธานอลของ บอระเพ็ดต่อเชื้อ Staphylococcus aureus beta-Streptococcus gr.A Klebsiella pneumoniae และ Pseudomonas aeruginosa พบว่าสารสกัดจากชั้นเอธานอลของลำต้นบอระเพ็ดมีฤทธิ์ในการต้าน beta-streptococcus gr.A (Laorpaksa et al., 1988)
พิ
ษวิทยา  
การทดสอบความเป็นพิษ (Chavalittumrong, 1997)
     1. การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน
จาก การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดด้วยเอธานอลของลำต้นบอระเพ็ด โดยให้ทางปากแก่หนูถีบจักร พบว่าเมื่อให้สารสกัดในขนาด 4g ต่อน้ำหนักหนู 1 kg. (g./kg.) หรือเทียบเท่ากับลำต้นแห้ง 28.95 g./kg. ไม่ทำให้เกิดอาการพิษใด ๆ
     2. การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง
จาก การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดด้วยเอธานอลโดยการกรอกสารสกัดของบอระเพ็ดขนาด ต่างๆ แก่หนูขาว ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า สารสกัดในขนาด 0.02 g/น้ำหนักหนู 1 kg./day (g./kg./day) ซึ่งเทียบเท่ากับขนาดที่ใช้ในคน ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการกินอาหารของหนู และไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยา หรือค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม รวมทั้งไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะภายนในต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่หนูที่ได้รับสารสกัดในขนาด 1.28 g./kg./day หรือ 64 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคน มีอัตราการเกิด bile duct proliferation และ focal liver cell hyperplasia รวมทั้งมีค่าของเอนไซม์ alkaline phosphatase และ alanine aminotransferase และค่าครีอะตินินสูงกว่ากลุ่มควบคุม
แสดงให้เห็นว่าสารสกัดบอระเพ็ดใน ขนาดต่ำ เช่น ขนาดที่ใช้ในคนไม่ทำให้เกิดความผิดปกติใดๆ ในสัตว์ทดลอง แต่ในขนาดที่สูงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของตับและไตได้
ข้อมูลทางคลินิก -

 arrow35b15d.gif  เอกสารอ้างอิง
     ดรุณ เพ็ชรพลาย, จารีย์ บันสิทธิ์, ณุฉัตร จันทร์สุวานิชย์, ประถม ทองศรีรักษ์, ชาตรี ชาญ ประเสริฐ, ผู้เรียบเรียง, 2541 .สมุนไพรพื้นฐานฉบับรวม, รุ่งเรืองสาส์นการพิทพ์, กรุงเทพฯ : 70-71.
        ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ., 2535, พืชสมุนไพรใช้เป็นยา (5), บริษัทอักษราพิพัฒน์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 33.
        เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2522., ไม้เทศเมืองไทย : สรรพคุณของยาเทศและยาไทย, โรงพิมพ์ กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ, 307.
        ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532, รักษาโรคด้วยสมุนไพร, สำนักพิมพ์ หอสมุดกลาง 09, กรุงเทพฯ.
        ปราโมทย์ ศรีภิมรมย์, พ.ต.ต.,2540, ชุมนุมสมุนไพรไทย, สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง 09, กรุงเทพฯ.
        วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, เภสัชกรรมไทยรวมสมุนไพร, พิมพ์ครั้งที่2, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร, กรุงเทพฯ, ..412,414,420,432,433,435,436.
        บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล, รุ่งระวี เต็มศิริฤทกษ์กุล, วิสุดา สุวิทยาวัฒน์, สมใจ นครชัย และยุวดี วงษ์กระจ่าง. 2537...การศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของบอระเพ็ด. วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 21 (1):1-6.
       รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, เสาวณี สุริยาภณานนท์, ธนา คุณวิภูศิลกุล, วงศ์สถิต ฉั่วสกุล, ปริทรรศน์ ไตรสนธิ, 2529, ..พืชสมุนไพร ลักษณะพันธุ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, : 16,45.
        Bisset. N.G. an Nwaiwu, J. 1983. Quaternary alkaloids of Tinospora species. Planta Medica. ... 48:275-279.
        Cavin, A., Aostettmann, K., Dyatmyko, W. and Poterat, O. 1998. Antioxidant and ....lipophilic constituents of Tinospora crispa. Planta Medica. 64 : 393-396.
        Fukuda, N., Yonemitsu, M. and Kimura, T. 1983. Studies on the constituents of the ...stems of Tinnospora tuberculata Beumee. I. N-trans-and N-cis Feruloyl tyramine, and a new ......phenolicglycoside, Tinotuberride. Chemical and Pharmaceutical Bulletin. 31:156-161.
        Fukuda, N., Yonemitsu, M. and Kimura, T. 1983. Studies on the constituents of the  stems of Tinnospora tuberculata Beumee. Chemical and Pharmaceutical Bulletin. .. 34:2868-2872.
         Fukuda, N., Nakamura, M., Yonemitsu, M., Kimura, T., Isobe, R., Komori, T., 1993. .Studies on the constituents of the leaves of Tinsospora tubercubata 1.isolation and struture ..elucidation of 2 new furanoid diterpenes, tinotufolin-A and tinotufolin-B. Liebiigs annalen der chemic. 3:925-927. Abstract form : SCI 1993.
        Fukuda, N., Yonemitsu, M. and Kimura, T., 1993. Studies on the constituents of the .stems of Tinospara tuberculata. 4.isolation and struture elucidation of the 5 new furanoid .diterpene glycosides borapetoside-C-G. Liebigs annalen der chemic. 5:491-495. Abstract ..form : SCI 1993.

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

   Main webboard   »   สมุนไพรใกล้ตัว
 ย้อนกลับ  |    

 

คนโบราณและนักโภชนาการมักกล่าวว่า อาหารเป็นยาที่วิเศษที่สุด เพราะเป็นแหล่งรวมของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ใช่ว่าต้องเป็น อาหารที่มีราคาแพงอย่างเป๋าฮื้อ หูฉลาม รังนก หรือของหายากอย่างดีหมีเท่านั้น ถึงจะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายได้ เพราะจากการศึกษาแล้วพบว่าอาหารที่เราหาได้ตามท้องตลาดในชีวิตประจำวันก็มี ประโยชน์ในตัวไม่ใช่น้อย

ที่สำคัญอาหารเหล่านี้ยังช่วยล้างพิษให้แก่ อวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น ตับ ลำไส้ ไต ผิวหนัง ช่วยป้องกันการจับตัวของสารพิษ รวมถึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งสารพิษต่างๆที่สะสมอยู่ในร่างกายอาจมาจากควันพิษในอากาศ สารเจือปนในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันเสีย ยาฆ่าแมลง ปรุงรส เป็นต้น

คราวนี้ลองมาดูกันว่าอาหารชนิดใดสามารถช่วยล้างพิษให้คุณได้บ้าง

  1. สาหร่าย พืชสีเขียวในทะเลที่หลายคนมองข้ามคุณประโยชน์ แต่จากการศึกษาของ Mcgill University ที่ Montreal แสดงผลว่าสาหร่ายสามารถจับของเสียจากรังสีที่สะสมในร่างกาย



ใน ปัจจุบันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงรังสีต่างๆจากคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นไมโครเวฟทั้งหลายได้ ซึ่งพลังงานความร้อนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งสาหร่ายจะช่วยดูดซึมคลื่นรังสีเหล่านั้น และสามารถจับกับพวกโลหะหนักได้ด้วย นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยโปรตีนและเกลือแร่ในปริมาณมาก


  2. หัวหอม ประกอบไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งหลายชนิด และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยทำความสะอาดเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LD ซึ่งไม่ดีเพราะเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานดีขึ้น ช่วยรักษาโรคหอบ โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และที่สำคัญคือช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่


  3. มะนาว เป็นสุดยอดอาหารที่ช่วยทำความสะอาดตับ มีวิตามินซีสูง น้ำมะนาวสดเมื่อนำมาผสมกับน้ำอุ่นแล้วดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอนจะช่วยล้างพิษ และทำให้เลือดสะอาดขึ้น แต่ถ้านำน้ำมะนาวสดผสมกับโยเกิร์ตและน้ำผึ้ง ก็จะเป็นอาหารที่ช่วยล้างพิษในลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย



  4. เมล็ดแฟลกซ์ ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็น อย่างโอเมกา 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยบำรุงความจำ และมีผลดีต่อหัวใจเพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีสารอื่นที่ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างการแข็งแรงขึ้น



  5. กระเจี๊ยบ น้ำกระเจี๊ยบมีคุณสมบัติช่วยทำความสะอาดแบคทีเรียและไวรัสออกจากระบบทางเดิน ปัสสาวะ ซึ่งมักก่อให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งสารในกระเจี๊ยบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเหล่านั้นได้



  6. ทับทิม ตำราแพทย์แผนโบราณของชาวเอเชียกล่าวไว้ว่า การดื่มน้ำทับทิมสามารถรักษาอาการอักเสบและลดความปวดได้ เนื่องจากในผลทับทิมมีสารแอสไพรินซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับแอสไพรินในยา แก้ปวด ช่วยล้างพิษ ลดการติดเชื้อของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และลดอาการอักเสบ



โดย เฉพาะผู้ที่มีอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม ช้ำ แนะนำให้กินทับทิม เพราะช่วยลดอาการปวดลงได้ ขณะเดียวกันยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น


  7. พืชตระกูลถั่ว (เช่นถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วขาว) จากการศึกษาพบว่าผู้ที่กินถั่วเป็นประจำมีระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่าผู้ที่ ไม่ได้กิน และลดอัตราความเสียงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วยพืชตระกูลถั่วนี้ประกอบด้วยไฟ เบอร์สูง ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ทำความสะอาดลำไส้ ลดการสะสมของสารพิษในลำไส้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย


  8. ขึ้นฉ่าย ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารในการทำความสะอาดเลือดและช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรกินขึ้นฉ่ายเป็นประจำ หรือถ้าจะให้ดีควรดื่มน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายสดในตอนเช้า เพื่อช่วยควบคุมระดับแรงดันเลือดให้คงที่ ในขึ้นฉ่ายยังประกอบไปด้วยสารต้านการเกิดมะเร็ง และสารที่ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในคนที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่ได้รับควัน บุหรี่ด้วย



  9. แครอท เต็มไปด้วยสารอัลฟาและเบตาแคโรทีน ( Alpha and Beta-carotene ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินเอ และถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษใน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยระบบทางเดินประสาท สายตา ผิวหนัง ที่ต้องสัมผัสแสงแดเป็นประจำ และจากการวิจัยพบว่าสารในแครอตช่วยลดการเกิดมะเร็ง และช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจและหัวใจแข็งแรงขึ้น



  10. มะเขือพวง คนไทยนิยมใส่มะเขือพวงในอาหารประเภท ผัดเผ็ด แกงป่า แกงกะทิ และน้ำพริก สมัยก่อนแกงกะทิเช่นแกงไก่ใส่มะเขือพวงเต็มไปด้วย ใส่ไก่น้อยเน้นการกินมะเขือเป็นหลักแต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม แกงไก่มักใส่ไก่มากกว่ามะเขือ และคนก็เลือกกินแต่ไก่ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในปัจจุบันมีรูปร่างอ้วนกว่าคนสมัยก่อน

มะเขือ พวงเป็นผักที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งสามารถช่วยดูดซึมไขมันในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยจับไขมันอิ่มตัว (ไขมันอันตราย) และขับออกจากร่างกายโดยระบบขับถ่าย ทั้งยังมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยกำจัดของเสียออกจากระบบทางเดินอาหารได้เร็วขึ้นและลดการสะสมของเสีย


  11. ส้มโอ หรือเกรปฟรุต เพราะเป็นผลไม้รสชาติดีจึงได้รับความนิยมในอาหารมื้อเช้าของชาวตะวันตก สารเพกตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ประเภทหนึ่งในเกรปฟรุต สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ก่อนที่จะจับตัวเป็นก้อนและขวางทางเดินในหลอดเลือด นอกจากนี้เพกตินยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โลหะหนักเหล่านี้ทำอันตรายต่อ ร่างกาย ส่วนเกรปฟรุตช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งกระเพราะอาหารและมะเร็งตับอ่อน สารต้านอนุมูลอิสระในเกรปฟรุตช่วยปกป้องสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย



  12. กระเทียม จากหลายการศึกษาให้ผลตรงกันถึงคุณสมบัติของกระเทียมในการทำความสะอาดร่างกาย นั่นคือ การกินกระเทียมเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับและฆ่าพยาธิในทางเดินอาหาร และฆ่าเชื้อไวรัส โดยเฉพาะทำความสะอาดเลือดและระบบลำไส้ ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและลดแรงดันโลหิต นอกจากนี้ยังต่อต้านการเกิดมะเร็งและทำให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น แต่ก็ควรระวังเรื่องการกินกระเทียมมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดลมหายใจที่มีกลิ่นกระเทียมไปด้วย



  13. บลูเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีค่าแอนติออกซิแดนต์สูงมากชนิดหนึ่งและถือเป็นหนึ่งในสุดยอด อาหารรักษาโรค เนื่องจากในบลูเบอร์รี่มีสารแอสไพรินตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดการระคายเคือง สารที่มีในบลูเบอร์รี่สามารถเข้าไปขัดขวางแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ



  14. กะหล่ำ เต็มไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) และช่วยตับขับฮอร์โมนที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนความเครียดที่มีผลเสียต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร รักษาและปกป้องกระเพราะอาหารจากแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ พืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี และกะหล่ำปม ผักเหล่านี้ช่วยทำความสะอาดร่างกายและช่วยกำจัดของเสียจากสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียจากควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย และช่วยให้ตับผลิตเอนไซม์ออกมาให้เพียงพอในการกำจัดของเสีย



  15. บีทรูต ผักสีแดงที่นิยมใส่ในสลัดนี้นับเป็นผักมหัศจรรย์ซึ่งเประกอบไปด้วยไฟโรเคมี คอล ( Phytochemical ) วิตามินและเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งทำให้บีตรูตมีคุณสมบัติต่อต้านชื้อโรค ทำความสะอาดเลือด ตับและระบบน้ำเหลือง อีกทั้งมีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น จึงช่วยกำจัดของเสียได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจากกการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าบีตรูตช่วยปรับระดับกรด-ด่างในเลือด ให้สมดุลด้วย


  16. อะโวคาโด อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ปัจจุบันเราก็สามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาดทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลูตาไทโอน(Glutathione ) ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งกว่า 30 ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ( University of Michigan ) พบว่าผู้สูงอายุซึ่งกินอาหารที่มีสารกลูตาไทโอนสูงจะมีสุขภาพดีกว่าคนที่ไม่ ได้กิน และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์



  17. ตำลึง ผักใบเขียวที่ขึ้นข้างรั้วหาง่าย และราคาไม่แพงนี้ ในสมัยก่อนเรามักนำมาทำแกงจืดตำลึงโดยใสเนื้อสัตว์น้อยๆ แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าแกงจืดตำลึงจะมีตำลึงอยู่ไม่กี่ใบ และมีหมูสับเต็มไปหมด ซึ่งตำลึงมีคุณสมบัติ ช่วยผลิตน้ำดีที่จะทำให้ลำไส้ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารที่มีอยู่ในตำลึงยังช่วยให้ตับสลายไขมันในร่างกายด้วย


  18. แอปเปิ้ล ประกอบไปด้วยเพกตินสูง เพกตินเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยจับคอเลสเตอรอลและโลหะหนักในร่างกายที่ ปะปนมากับอาหาร เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งทำลายเซลล์สมอง นี่คือเหตุผลที่เราควรจะกินแอปเบิลเพื่อล้างสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส จากการศึกษาทดลองยังพบว่าแอปเปิลช่วยขับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็ก และทำให้เกิดไมเกรนในผู้ใหญ่ได้



19. อัลมอนด์ เป็นถั่วที่มีใยอาหารสูง มีแคลเซียมและโปรตีนที่ดีต่อร่างกาย แม้จะมีไขมัน แต่ก็เป็นไขมันที่ดีและจำเป็นต่อร่างกายในระหว่างที่เราทำการล้างพิษจึงควร กินอัลมอนด์ นอกจากนี้อัลมอนด์ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็จะเกิดอาการไฮเปอร์ไกลซีเมีย ( Hyperglycemia ) ทำให้รู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หายใจไม่ออก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และหากน้ำตาลในเลือดต่ำที่เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย( Hypoglycemia )จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ไม่มีแรง คิดอะไรไม่ออก


  20. กล้วย มีคุณสมบัติในการบำรุงและสร้างความแข็งแรงแก่กระเพาะอาหาร ในขณะเดียวกันก็ให้เกลือแร่ที่จำเป็นแก่ร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกายโดยช่วยขับของเหลว หรือสารพิษส่วนเกิออกจากร่างกายโดยช่วยขับของเปลว หรือสารพิษส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดีขึ้น การกินกล้วยเป็นประจำยังช่วยป้องกันท้องผูก ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติอีกด้วย



นี่คือความสุดยอดของบ้านเมืองเรา.....ซึ่งบ้านเมืองอื่น..แอบอิจฉา

 

 

เวบไชด์น่าสนใจ เกี่ยวกับพลังงาดทดแทน

www.are101.org  ความ รู้เกี่ยวกับพลังงานลม กังหันลม พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้ง โซลาร์เซลล์ โซลาร์เทอร์มอล แผ่นสะท้อนความร้อน และการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ เชื้อเพลิงทดแทนต่างๆ Fuel cell, พลังน้ำ, การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, การประหยัดพลังงาน, บ้านประหยัดพลังงาน, แบตเตอร์รี่ ฯลฯ

 

บทความน่าอ่าน

การผลิตพลังงานไฮโดรเจน อีกวิธีการหนึ่ง(แผงโซลาร์เซล) ข้อมูลจาก:http://www.oknation.net
เทคโนโลยีการเก็บไฮโดรเจน ข้อมูลจาก:http://thailandindustry.com

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 147,576 Today: 4 PageView/Month: 749

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...