สวนสุนนท์กุล [สวนไผ่,สวนผสม,เกษตรธรรมชาติ] http://sunbamboo.siam2web.com/

 

  ผมเป็นลูกชาวนา แต่ได้รู้จักความหมายอย่างลึกซึ้งของคำว่าเกษตรกรจากหน้า web page   มีความรู้พื้นฐานสาขางานไฟฟ้า-อิเลคทรอนิกส์  จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จ.อุบลฯ รุ่นที่4    ปัจจุบันเปิดร้านรับซ่อมเครื่องโทรศัพท์มือถือ อยู่ กทม.    ปลูกไผ่ไว้ สองไร่ และเตรียมอนุบาลกล้วยอีก สามร้อยต้น อนาคตอันใกล้นี้ จะลงมะละกอ ผักหวานป่า สักเล็กน้อย กลับจังหวัดอุบล เดือน เว้น เดือน เพื่อเยี่ยมบ้าน และดูแลสวน หวังไว้ สักวันจะเป็นเกษตรกรเต็มตัว และ  หวังไว้  สักวัน จะใช้พลังงานจากธรรมชาติเป็นหลัก พลังงานไฟหลวงเสริม จะสร้างแหล่งเรียนรู้ เรื่องพลังงานและการจัดการใช้พลังงานให้เหมาะสมและสมดุลย์ คุ้มทุนคุ้มค่า เน้นอุปกรณ์ที่มี  วัสดุหาได้ในท้องถิ่น

 

     Wink ปัจจุบัน เป็นแค่ ผู้ขยันปลูก ยังไม่ใช่ผู้ชำนาญ ทั้งในเรื่องระบบน้ำ และต้นไม้ (แต่อนาคตไม่แน่)

  เนื่องจากเป็นได้แค่คนขยันปลูก แต่ไม่มีเวลาได้ใส่ใจดู จึงได้แสวงหาเทคนิค เทคโนโลยี แนวคิดดีๆใหม่ๆ รวมถึงภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ดีๆหลายอย่าง ที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และชุมชน
รวมถึงการเป็นผู้แนะนำ หรือเป็นตัวอย่างการประยุกต์ไช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ต้นทุนต่ำลงและทำงานได้ผลคุ้มค่า..แก่ผู่ที่สนใจทั่วไป
อเนก สุนนท์กุล 0944593268 เบอร์ไลน์0849099699

สิ่งที่ควรรู้ สำหรับทุกท่าน คัดกรองมาจากประสบการณ์ "ระบบน้ำเพื่อการเกษตร"

 สิ่งที่ผู้จะนำไปใช้ย่อมรู้ดีกว่าพ่อค้าที่ขายปั้ม คือ

 1. พื้นที่กี่ไร่ กะวางท่อเมนส์ส่งน้ำขนาดกี่นิ้ว ยาวกี่เมตร(ขนาดและระยะท่อส่ง)

2. จะปลูกอะไร.. แล้วคุณศึกษามารึยังพืชที่จะปลูกใช้น้ำเฉลี่ยมากน้อยเท่าไดต่อวัน (พ่อค้ามีหน้าที่ขายเดาใจผู้ซื้อยาก)
3. ลักษณะพื้นที่ลาดลุ่ม แนวระนาบ หรือเอียงชัน ในระยะกี่เมตร เพราะปัจจัยส่วนนี้ มีผลต่อเงินในกระเป๋าคุณ แม้เลือกปั้มแพงๆแรงๆประสิทธิภาพปั้มก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่หากการไหลของน้ำในท่อมีแรงต้านแรงเสียดทานสูญเสียแรงน้ำไปบางส่วน แม้จะอัดแรงปั้มกะให้แรงๆๆ แต่ข้อจำกัดก็คือ ความหนา อัตราทนแรงดันของท่อน้ำ คือต้นทุนที่คุณไม่ควรมองข้าม
4. ระบบให้น้ำเป็นน้ำหยดรึสปริงเกอร์ คุณเป็นผู้นำไปใช้ ควรศึกษาให้พอมีความรู้บ้าง ว่าสปริงเกอร์แต่ล่ะขนาดที่คุณกะไว้ใช้น้ำกี่ลิตรต่อนาที และใช้แรงแน้ำกี่บาร์ จึงจะได้วงรัศมีน้ำตามสเปรคที่โรงงานบอก
5. ขนาดเส้นท่อส่งน้ำ ที่ท่านกำหนดใช้งาน ทราบรึไม่ล่ะว่าถ้าปั้มคุณทำงานเต็มที่จะเร่งรีดส่งน้ำผ่านท่อนั้นได้ชั่วโมงหรือนาทีล่ะกี่ลิตรเพราะข้อมูลส่วนนี้ นำไปใช้กำหนดว่าปลายทางท่านจะได้น้ำกี่ลิตร แรงอัดเหลือกี่บาร์ จะทำให้กำหนดได้ ว่าสปริงเกอร์ใช้ได้เต็มที่กี่หัว
จาก 5ข้อข้างต้นนี้เป็นเรื่องพื้นที่ และ ความอยากได้หมายกำหนด ของพื้นที่และเป้าหมายงานจากผู้ใช้
แต่.... ยังมีปัจจัยพลังงาน และข้อจำกัดของอุปกรณ์เป็นเกณฑ์กำหนดประสิทธิภาพงานให้เกิดขึ้นตามจริง. ดังนั้น.... อย่าเชื่อแค่คำโฆษณา ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ประกอบ
6. แหล่งน้ำคุณเป็นแบบได บ่อบาดาล ห้วย รึสระ จึงควรเลือกประเภทปั้มให้เหมาะกับงาน โดยเฉพาะบาดาล น้ำต่ำจากผิวดินกว่า6เมตรหากใช้น้ำมากให้เลือกปั้มซับเมิสคุ้มงานกว่า และอย่าลืม ประเมินพิจารณาด้วยว่า น้ำในบ่อท่านจ่ายทันปั้มดึงออกได้แค่ไหน บางทีความอยากมักสวนทางกับปัจจัยที่มี เลือกปั้มแรงๆดึงน้ำได้ดีคราวมากๆ แต่กลับชอกช้ำ ทุกข์เพราะเกรงปั้มไหม้(น้ำจะขาดปั้ม)
7. การกำหนดแรงมอเตอร์ จะใช้แรงเท่าไดให้พิจารณาจากปั้ม ว่าจะต้องใช้มอเตอร์แรงเท่าไดจึงจะขับปั้มนั้นให้น้ำตามต้องการ สังเกตุจากมอเตอร์ไฟฟ้าฃุดปั้มสำเร็จเวลาไปเลือกซื้อ ต้องพิจารณาที่สเปรคปั้ม ไม่ได้ดูที่มอเตอร์เป็นเกณฑ์และอีกอย่างก่อนตัดสินใจเลือก ให้พิจารณาถึงพลังงานไฟฟ้าที่จะจ่ายให้ได้ก่อนเป็นเกณฑ์ เช่นไฟบ้านท่านจ่ายขับมอเตอร์ได้สูงสุดกี่แรงม้า. เพราะแม้คุณจะทุนหนักใจใหญ่เลือกใช้มอเตอร์10แรงม้า ปั้มมัลติสเตรท3ใบพัด แต่ถ้าใช้ไฟบ้านสองสาย หากไม่ใช้เฟสคอนเวอเตอร์(อิเลคทรอนิคอินเวอเวอเตอร์ควบคุมมอเตอร์) เข้ามาช่วย..ประสิทธิภาพงานก็ไม่ได้ต่างจากมอเตอร์5-7แรงมากนัก. เผลออาจจะใช้ไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะกำลังไฟจ่ายให้ไม่พอ แถมไฟตกมากคงต้องลำบากซ่อมบ่อยและจ่ายค่าไฟแพงเกินจำเป็นอีกด้วย เพราะไฟสองสายธรรมดา การไฟฟ้าลงหม้อแปลงไว้ กะให้รองรับชุมชนอยู่อาศัยพิกัดใช้มอเตอร์3-5แรงพอไปได้ ซ้ำร้าย..สวนเกษตรน้อยที่ที่จะมีหม้อแปลงแรงสูงตั้งอยู่หน้าสวน ส่วนมาก ลากสายไฟ ระยะไกล ไฟจึงตก
8. มอเตอร์ 746วัตต์=1แรงม้า (มอเตอร์10แรงม้า= 7460วัตต์ หรือ 7.5KW ที่ข้างมอเตอร์) หากจะใช้ไฟฟ้าจากแดด(โซล่าร์เซลล์) ต้องเผื่อให้ผลิตพลังงานมากกว่าที่มอเตอร์ต้องดึงไปใช้ อย่างน้อย20เปอร์เซ็น. เผื่อพลังงานสูญเสียไปกับขบวนการการทำงานบางส่วนและพลังงานจากแดด เราคุมพระอาทิตย์ไม่ได้
9.. พลังงานจากโซล่าร์เซลล์ เป็นพลังงานฟรีจากธรรมชาติ แต่ไม่ได้มาฟรีๆ ต้องลงทุนระบบสูงกว่าการต่อสายใช้ไฟฟ้ารัฐฯ.. และต้องซ่อมดูแลเองด้วย. เพราะเป็นแหล่งพลังงานส่วนตัว แปลงพลังงานจาก ดิน น้ำ ลม แดด ต้องลงทุนจ่ายก่อนใช้ ในบางพื้นที่การเดินสายไฟไปใช้ไกลๆ ปัญหาไฟตก ได้ไฟไม่เต็มประสิทธิภาพ. ทุนค่าสายค่าไฟแพง แรงไฟไเด้น้อย เสี่ยงสายถูกขโมย แบบนี้ลงระบบโซล่าร์เซลล์ชุดใหญ๋ๆไว้ใช้งานคุ้มมาก.
ส่วนข้อดีไฟฟ้าจากรัฐฯ....ไฟฟ้าจากรัฐฯ..เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน หากอยู่ในพื้นที่บริการได้ แนะนำให้เลือกใช้.. ทุนเริ่มต้นน้อย ยุ่งยากน้อยกว่่า มีเงินจ่ายค่าไฟเป็นพอ เป็นพลังงานแบบเครดิต..ใช้ไปก่อนแล้วจ่าย
อีกแบบเป็นระบบผสมร่วม คือมีแดดได้ไฟจากโซล่าร์เซลล์ แปลงขับมอเตอร์ACได้โดยตรง ข้อดี คือ มอเตอร์หาง่ายซื้อได้ทุกพื้นที่ และเมื่อไม่มีแดดระบบจะ ดึงไฟบ้านมาเสริมผสมร่วมชดเชยกำลังงานที่ไฟจากแดดจ่ายให้ไม่พอในทันที เหมาะกับกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานอย่างมากในช่วงกลางวัน เช่น ประปาหมู่บ้าน สูบน้ำเพื่อการเกษตร หรือ งานกล ที่ใช้มอเตอร์ทุกชนิดที่เน้นกิจกรรมเฉพราะในกลางวัน อย่างโรงปุ๋ย โรงสีข้าว ฯลฯ แปลงไฟตรงจากแดดเป็นไฟ AC ขับมอเตอร์ 3-5แรงม้าได้สบายลงทุนแสนปลายใช้นานคาดหวังได้"กว่า20ปี" ระบบโซล่าร์เซลล์แบบผสมนี้ไม่มีแบตฯสำรองไฟ ไฟไม่ไหลย้อน ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
ดังนั้น..จะพิจารณาเลือกสิ่งได ขอให้ใช้ความเหมาะสมและใช้สติพิจารณา ทุกสิ่งในโลก ล้วนมีดี มีแย่ แต่เราคือคนเลือก จะเลือกได้ดีหรือแย่..ก็อยู่ที่ปัญญาท่าน ไม่ใช่พ่อค้า หามาเสริฟ
รับคิด รับสร้างสรรค์ในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมที่สุด

อเนก สุนนท์กุล 0944593268 เบอร์ไลน์084909969

จุดเด่นของไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์


1. ไม่มีวันหมด 
แหล่งพลังงานอื่นๆ ที่เราใช้งานอยู่ ทั้ง น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นทรัพยากรทีมีจำกัด ต่างจากดวงอาทิตย์ที่จะยังคงอยู่ในจักรวาล

2. เป็นแหล่งพลังงานสะอาด
ไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง ต่างจากการผลิตไฟฟ้าอื่นๆ ที่ต้องเผาน้ำมัน เผาถ่านหิน แล้วปั่นเทอร์ไบน์ด้วยไอน้ำซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งมลภาวะทางเสียง

3. สร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาด
ตั้งแต่เล็กๆ เพื่อใช้กับเครื่องคิดเลข จนถึงโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ระดับ 100 kW ขึ้นไป ซึ่งไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ลักษณะพื้นฐานได้เหมือนกัน ประสิทธิภาพเท่ากัน ต่างจากโรงงานผลิตไฟฟ้าทั้งพลังน้ำ การเผาเชื้อเพลิง พลังงานปรมาณู ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานจะขึ้นกับขนาดของระบบ 

4. ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น
ระบบไฟฟ้าปกตินั้นแหล่งผลิตไฟฟ้ากับจุดใช้งานมักอยู่คนละที่ตั้งกัน และจะต้องมีระบบทำการส่ง แต่เซลล์แสงอาทิตย์จะต่างจากระบบไฟฟ้าปกติ คือ สามารถผลิตไฟฟ้าในบริเวณที่จะใช้งานได้ หรือจะติดบนหลังคาบ้าน เพื่อสร้างไฟฟ้าใช้เองในบ้านเลย    

 

 

"เครื่องแปลงเฟสไฟฟ้า"  เครื่องแปลงไฟกระแสตรงแรงดันสูงให้ออกมาเป็นไฟกระแสสลับ ใช้สำหรับขับ ควบคุมมอเตอร์

ติดต่อสั่งซื้อได้ที่  0849099699 อเนก

สำหรับระบบโซล่าร์เซลล์ไฟกระแสตรง HVDC  มอเตอร์ทั่วไป ที่สามารถใช้ไฟ 220V 3phase (มอเตอร์ 220/380จั้มใช้แบบ dellta)

เหมาะกับระบบน้ำขนาดใหญ่  ที่ต่องใช้น้ำปริมาณมาก ไม่ใช้แบตฯ  ทำงานตามที่มีแดด  

สำหรับระบบสูบบาดาลบ่อลึก ด้วยมอเตอร์ ซับเมิส 3เฟส 




1. การจัดการน้ำ

ทำไมระบบสูบน้ำด้วยแดดจึงต้องใช้มอเตอร์ 3เฟส ใช้มอเตอร์ซิงเกิ้ลเฟส2สายได้หรือไม่??
 ...  อย่าลืม.. แผงโซล่าร์เซลล์ผลิตกระแสได้สูงสุด8-9แอมป์ ในช่วงแดดจัดเท่านั้น.แดดเช้าค่อนสายจะผลิตแอมป์ได้แค่ไม่เกินครึ่งของประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายไฟ(กำลังงานไฟฟ้าจากแผง) แต่ มอเตอร์ซิงเกิ้ลเฟส ใช้กระแสสตาร์ตสูงตอนออกตัว  ฉนั้นหากใช้แหล่งจ่ายไฟจากโซล่าร์เซลล์เพียงอย่างเดียว ระบบจะเริ่มทำงานได้ในช่วงเวลา แดดแรงเท่านั้น หรือไม่ ก็ต้องเพิ่มแผงเผื่อให้มากกว่า ทั้งนี้ อัตราการดึงใช้กระแสไฟของมอเตอร์จะขึ้นอยู่กับภาระงาน คือ ยิ่งระดับน้ำอยู่ลึกหรือยกสูงส่งไกล การกินไฟก็จะมากขึ้นตาม จากประสบการณ์จริงของ อเนก สุนนท์กุล.กับการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อขับมอเตอร์ ทั้งจากไฟสามเฟสโดยตรง หรือ ระบบแปลงไฟฟ้าเฟสเดียวเป็นไฟฟ้า3เฟสขับมอเตอร์ ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแสงแดด. 

 อัตราการดึงใช้กระแสของมอเตอร์จะขึ้นอยู่กับภาระโหลด ไม่ใช่แค่ตามเนมเพลท

  ระบบแปลงไฟฟ้าเฟสเดียวเป็นไฟฟ้า3เฟสขับมอเตอร์ ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแสงแดด. 0993963928,  0968363965 LineID:0849099699   งานลูกค้าใช้สูบบาดาลท่อ3นิ้วปั้มหอยโข่ง น้ำลึก6-8เมตร ส่ง100เมตร. ใช้มอเตอร์ 3Hp(2.2Kw) ตอนสตาร์ตกินกระแสสูงถึง 32แอมป์   พอน้ำไหลคงที่ค่ากระแส (แอมป์) ที่มอเตอร์ดึงใช้ลดลงมาเหลือคงที่ 15แอมป์  (เกินกว่าค่าเนมเพลทที่ ระบุ3Hp 14A max). แต่พอเปลี่ยนเป็นมอเตอร์7.5แรงตอนขณะสตาร์ตใช้กระแส 24-26แอมป์  ในภาวะน้ำไหลนิ่งคงที่ กลับใช้กระแสแค่14-15แอมป์เท่าเดิม. แสดงให้เห็นว่าอัตราการดึงใช้พลังงานจะสัมพันธ์กับความหนักหนืด หรือภาระโหลด ของงานที่มอเตอร์ขับลาก การใช้มอเตอร์ใหญ่กว่างาน จะใช้พลังงานตอนสตาร์ตไปเปล่าหากภาระงานน้อยๆจะไม่คุ้มและในทางกลับกันหากใช้มอเตอร์ที่มีแรงน้อยก็จะเป็นการใช้งานมอเตอร์เกินกำลังเปลืองทั้งพลังงานและเสี่ยงอุปกรณ์เสียหาย เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คงเปรียบเสมือน. การเอารถหกล้อ กับรถกะบะสี่ล้อ ไปขนดินเปรียบเทียบที่น้ำหนักมวลดินเท่ากัน. รถหกล้อออกตัวแบกบรรทุกได้แบบสบาย แต่สำหรับกะบะคงต้องเร่งเครื่องหรือใช้ความพยายามสุดกำลังจึงจะแบกลากได้  นั่นย่อมหมายถึงเครื่องยนต์ต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นกว่าเดิมและทำงานหนักกว่าปรกติ


 

 
 ยิ้มเท่ห์   เศร้า เอามาฝาก  ยิ้มเท่ห์

 


1.  ทำไมต้องเป็นมอเตอร์ 24VDC  ทำไมไม่ใช้เป็นมอเตอร์ 12Vdc
  เพราะถ้าใช้เป็นมอเตอร์ 12V เพื่อให้ได้กำลังมากเท่ากับมอเตอร์ 24V มอเตอร์ 12Vจะต้องใช้กระแสสูงขึ้นอีกเกือบเท่าตัว ทำให้แบตฯหมดไว ดังนั้นจึงต้อง

เพิ่มแหล่งผลิตกระแสไฟให้มากและต้องสะสมกระแสไฟไว้ให้มากพอด้วย จึงทำให้ต้องเปลืองต้นทุนค่าแผงและค่าแบตฯเพิ่มอีกไม่น้อย
 อุปกรณ์ไฟฟ้าจะดึงกระแสมาใช้งานต่างกันเมื่อแหล่งจ่ายมีแรงดันที่ต่างกัน      p(พลังงาน)=E(แรงดัน) x I(กระแส)
เช่น 12V ให้ได้ำกลังงาน 300W จะต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง= 300W / 12Vdc =25A     
      24V ให้ได้ำกลังงาน 300W จะต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง= 300W / 24Vdc =12.5A
  
2.  ทำไมต้องต่อระบบชาร์จแผงฯ กับแบตฯเป็นระบบ 12Vdc ในเมื่อมีแผงฯ21V 2แผง หรือ 280 1แผงอยู่แล้ว
ช่วยแก้ปัญหาการประจุแบตฯ และคายประจุไม่เท่ากัน
(การชาร์จแบบอนุกรมแบตฯ มีโอกาสเกิดการชาร์จ ประจุแบตฯแต่ล่ะลูกไม่เท่ากัน ทำให้ได้กระแสไม่เต็มที่ )


วิธีการต่อแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อชาร์จแบตฯ 2ลูกให้สำรองกระแสไฟได้มากที่สุด ในระยะเวลาอันสั้น (ภายไต้เงื่อนไขความปลอดภัย)
ลองพิจารณาที่ข้อมูลด้านล่างนี้

การต่อ รวมแผง  ต่อใช้ ขนาน(กระแสรวมเพิ่ม) จะได้แรงดันในวงจรจะออกเท่ากับแผงที่จ่ายแรงดันได้มากสุด ส่วนกระแส จะเท่ากับ กระแสที่สองแผงผลิตได้รวมกัน

การต่อ รวมแผง ต่อใช้ อนุกรม(แรงดันเพิ่ม) จะได้แรงดันรวมในวงจรเท่ากับแรงดันสองแผงผลิตได้รวมกัน ส่วนกระแส ที่ไหลในวงจรจะเท่ากับ กระแสของแผงที่ผลิตกระแสได้น้อยสุด เช่น หากเอาแผงอะมอลฟัส 60W 60V 1.2A ต่ออนุกรมกับแผงโพลี่ 60W 21V 3A กระแสไหลในวงจรจะเท่ากับกระแสของอะมอลฟัส 60W 1.2A แต่แรงดันจะเท่ากับ 60+21=81VDC
(นี่แค่ตัวอย่างให้เห็นภาพ การต่อใช้งานจริงหากเอาแผงต่างขนาด(A)มาอนุกรมกันแผงที่ผลิตกระแสน้อยกว่าเสี่ยงที่จะเสียหายไม่มีใครเขาทำกัน ยิ้ม)

การชาร์จไฟแบตเตอรี่แบบถูกต้อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของแบตฯไม่ควรใช้แบตฯจนหมดเกลี้ยง จะทำให้แรงดันในแบตฯต่ำเกินไป(10.5V) หากแรงดันที่เหลือในแบตฯต่ำกว่าแหล่งจ่ายชาร์จมาก ก็จะทำให้กระแสชาร์จไหลมากเช่นกัน การปรับควบคุมแรงดันจากแหล่่งจ่าย จะเป็นการควบคุมกระแสไฟชาร์จที่ไหลเข้าแบตฯได้เช่นกัน เพื่อเป็นการถนอมแบตฯ  ไม่ควรชาร์จกระแสเกินเกิน 10% ของ ขนาดความจุกระแสสูงสุดของแบตฯ 
เช่น   แบต 75 แอมป์ กระแสไฟชาร์ท น่าจะ ไม่เกิน 7.5 แอมแปร์ หรือ แบต 100 แอมป์ กระแสไฟชาร์ท น่าจะ ไม่เกิน 10 แอมแปร์(ที่แรงดัน14-15VDC)   หากใช้แรงดันและค่ากระแสชาร์จสูงมากกว่านั้นจะทำให้แบตเตอรี่ อายุสั้นลงกว่าที่ควร 
 
  การชาร์จแบตฯด้วยแรงดันไฟสูง เช่น ชาร์จแบตฯ 12V 100A ด้วยแผงอะมอลฟัส 60W 1A สามารถต่อตรงได้(ไม่ควรเกิน  120W) แรงดันชาร์จจากแผงจะลดลงเหลือ 14-15V ได้เองโดยไม่เป็นอันตรายต่อแบตฯ แต่จะส่งผลให้น้ำกลั่นในแบตฯแห้งเร็วกว่าปกติ ทำให้ต้องหมั่นตรวจดูน้ำกลั่นบ่อยขึ้นเท่านั้นเอง  การต่อแผงโซล่าร์มาต่อรวมกัน  หากต่อโดยเอาสายขั้วบวกมารวมเข้าด้วยกัน  และเอาขั้วลบรวมกันกับขั้วลบ เรียกว่าต่อขนานแผ่น หากวัดแรงดันด้วยมัลติมิเตอร์แรงดันเท่าเดิม (แต่กระแสจะได้เท่ากับกระแสแต่ล่ะแผ่นรวมกัน)  

 เกร็ดความรู้ ที่ควรรู้ ยิ้มเท่ห์
  การชาร์จแบตฯในระบบที่กระแสสูง ไม่ควรชาร์จแบตฯไว้ในห้องที่ปิดทึบ อากาศไม่ถ่ายเท เนื่องจากในขบวนการระหว่างชาร์จจะเกิดมีก้าซไฮโดรเจนที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างแผ่นธาตุกับกรดกำมะถัน ล่องลอยสะสมหากมีมาก ถ้ามีการสปาร์คแม้เพียงนิดเดียวก็...ตู้ม  

 ระบบชาร์จโซล่าเซลล์ ทุกประเภท ทุกชนิดที่แรงดันระบบไม่เกิน 20VDC กระแสชาร์จไม่เกิน 10% ของค่าความจุสูงสุดของแบตฯเตอรี่ หากมีการใช้งานทุกวัน  ไม่ต้องต่อคอนโทรลชาร์จก็ได้  แรงดันจากแผงจะลดลงเองได้ เนื่องจากแบตฯจะดึงกระแสจากแผงโซล่าร์อย่างเต็มที่ แต่กระแสจากแผงผลิตออกมาไม่พอจึงทำให้แรงดันตกคร่อมแบตฯลดลงเหลือประมาณ14-15v เท่านั้นเอง  ปริมาณกระแสไฟฟ้าสะสมที่ได้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพในการผลิตกระแสของแผงโซล่าร์เซลล์ + ความเข้มของแสง + ประสิทธิภาพในการเก็บรักษากระแสไฟของแบตฯ+ขนาดของสายไฟ 


จากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัว
  กรณีใช้ปั้มชัก กับ มอเตอร์ไฟฟ้า(ทั้ง AC&DC) เพื่อสูบน้ำรดแปลงผัก โดยการใช้สายยางอ่อนเเป็นสายส่ง และมีการลากสาย ย้ายที่บ่อยๆ เพื่อเลี่ยงปัญหาสายยางพับแล้วข้อต่อสายหลุด หรือสายแตกเนื่องจากแรงดันน้ำ สามารถแก้ไขได้โดยการใส่สวิตซ์แรงดันที่ต้นทางออกของปั้มเพื่อช่วยตัดการจ่ายไฟให้มอเตอร์ได้
การเลือกขนาดวัตต์ของมอเตอร์ มาใช้ขับปั้มชักควรให้เหมาะสมกับปั้ม เพื่อเลี่ยงปัญหาเรื่องมอเตอร์ร้อนเกินไป ชึ่งจะส่งผลกับประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของมอเตอร์โดยตรง ส่วนการเลือกใช้ปั้มต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการใช้งานและให้เหมาะสมกับทุนที่ต้องจัดหาแหล่งจ่ายพลังงานมาจ่ายให้มอเตอร์ที่ขับปั้ม จึงจะได้งานคุ้มกับทุุน
 
ปั้มชักตอบสนองต่อรอบหมุนที่ 250-400รอบ/นาที เร็วกว่านี้ลิ้นวาล์วทำงานไม่ทัน หากใช้มอร์เตอร์ที่ความเร็วรอบสูง แก้ปัญหาได้ด้วยการทดรอบ  โดยการเปลี่ยนขนาดมูเลย์สายพานที่มอเตอร์ให้เล็กลง  ขนาดมูเลย์สายพานที่แถมมากับชุดปั้มโดยทั่วไปออกแบบให้ใช้ร่วมกับมอเตอร์ที่รอบหมุน 1400-2400รอบ/นาที (อัดตราทดที่ 5.5-6:1โดยประมาณ)

รายละเอียดเพิ่มเติม  "สวนไผ่สุนนท์กุล"


 
                                                                                



วัตต์ (w) หรือ power หรือกำลังไฟฟ้า คือ ผลคูณระหว่าง กระแสไฟกับแรงดัน  เช่น แผงโซล่าเซลล์ จ่ายไฟออก 19โวลต์  2amp
ตัวอย่างวิธีใช้สูตรนี้ เพื่อคำนวนโซล่าร์เซลล์แผงนี้มีกำลังไฟกี่วัตต์(W)

เมื่อ   ผลคูณระหว่าง แรงดัน กับ กระแสไฟ = วัตต์ (W)
                           17.6V    x     2.8Amp    =    ?? watt
                                                          = 49.28W  หรือ = 40W นั่นเอง



 อเนก  สุนนท์กุล   เลขที่บัญชี  08-4017934-5 ธนาคารกรุงเทพฯ  
หลังโอน กรุณาแจ้งเตือน หรือ SMS มาที่  0849099699(1-2call) หรือ 0814544298(Dtac)


 

การต่อสวิตช์เพื่อสลับใช้งานแบตฯ  สองลูก เพื่อใช้งานแรงดันที่ต่างกันโดยไม่ต้องปลดขั้วแบตฯ



   ที่ผมแนะการต่อระบบแบบต่อแบตฯโดยตรงกับแผงมากกว่า ไม่ต่อผ่านอุปกรณ์คอนโทรลชาร์จ เพราะระบบขนาดเล็ก กำลังผลิตไม่มาก(ไม่เกิน 1200วัตต์/วัน)  และเห็นว่าพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าร์เซลล์ส่วนมาก จะเป็นแบบ ใช้วันต่อวัน คือ ในวันนี้แผง ผลิตกระแสชาร์จสะสมลงแบตฯไว้ กลางคืน ก็แสงสว่างและใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ แบตฯเริ่มอ่อน อุปกรณ์ใช้ไฟไม่พอก็เลิกใช้ กลางวันบางวันก็ใช้ปั้มบ้าง ทำให้สะสมกระแสไฟฟ้าไว้ได้ไม่มาก เช้าวันต่อไปมีแดดระบบก็ชาร์จกลับ หากแบตฯที่ใช้สำรองไฟในระบบมีค่าความจุ 70แอมป์ ขึ้นไป และแผงผลิตกระแสชาร์จในระบบไม่เกิน 10A ทุกค่ำคืนต้องใช้เปิดแสงสว่าง และใช้ปั้มสองวันครั้ง หรือบ่อยกว่านี้ การใช้งานในลักษณะนี้หากใช้แบตฯ ขนาดความจุ 200Aขึ้นไป จะแทบไม่มีโอกาสเกิดปัญหาแบตฯเต็มแล้วเกิดการชาร์จเกินจนแบตฯพังแน่(ยกเว้นไม่ใช้งานนานเกิน 5วัน) แล้ว .... หากต่อคอนโทรลชาร์จแล้วอุปกรณ์นี้เสียเอง ระบบทำงานไม่ได้ หากผู้ใช้ไม่มีความรู้ทางช่าง หรือไม่เคยทราบวิธีว่า หากกระแส และ แรงดันในระบบไม่มาก สามารถต่อตรงกับแบตฯได้ ก็จะรอช่าง หรือวิ่งหาซื้ออุปกรณ์ตัวนี้ กว่าจะหามาใส่ได้คงลำเค็ญ ยิ้ม

    ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่เกิดชาร์จเกินต้องใช้ขนาด100Aขึ้นไป  เผื่อเว้นไม่ได้ใช้งาน สักวันสองวัน ความจุกระแสของแบตฯยังพอมีได้เก็บสำรองไฟได้ แต่หากไม่ได้ใช้ปั้ม เพื่อให้แบต์คายกระแส(ดึงไฟในแบตฯออกใช้งาน) หากไม่อยู่ หรือ ไปธุระหลายวัน ก็ปลดสายแผงออกจากแบตฯไว้ก่อน เพื่อเลี่ยงการชาร์จเกินได้

หรือ อยากให้ง่ายๆ ก็หาคอนโทรลชาร์จมาใช้ หากติดตั้งกลางทุ่ง กลางสวน ต้องทำคอกและหลังคากันฝน ฤดูฝนความชื้นในอากาศสูง ป้องกันให้ดี หากโดนความชื้นจะทำให้คอนโทรลชาร์จเสียได้

ดังนั้นความรู้พื้นฐานนี้ จำเป็นสำหรับผู้ใช้ระบบโซล่าร์เซลล์ 



วงจรจะทำงานเมื่อมีไฟเข้า มากกว่า 12v แต่จะทำงานได้ดีช่วง 16 - 45v จ่ายไฟออก 15V คงที่ 
P = E x I หรือ กำลังวัตต์ = แรงดันไฟฟ้า x กระแสไฟฟ้า

เมื่อ กำลังวัตต์ = แรงดันไฟฟ้า x กระแสไฟฟ้า
จ่ายไฟเข้า 36V 7A = 252W 
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องไม่แปลก ที่จะทำให้ไฟออกคงที่ 15V แต่ให้ได้กระแส 15A ชาร็จเข้าแบตฯ 


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:::> อเนก สุนนท์กุล เกษตรปราณีต

Create Your Badge

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 146,300 Today: 47 PageView/Month: 1,478

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...